สรุปวิธีการนับ เลขนัยสำคัญ ต้องรู้หลักการอะไรบ้าง?

สรุปวิธีการนับ เลขนัยสำคัญ ต้องรู้หลักการอะไรบ้าง?

เลขนัยสำคัญ (Significant figures) คือตัวเลขที่ได้จากการวัด จำนวนเลขนัยสำคัญขึ้นกับความละเอียดของเครื่องมือวัดที่ใช้ เช่นการวัดความยาวด้วยไม้บรรทัด
ถ้าบันทึก 0.02 กิโลกรัม ถือว่ามีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว แต่ถ้าบัน 0.020 กิโลกรัม ถือว่ามีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ซึ่งมีความหมายแตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงมีหลักการนับเลขนัยสำคัญดังนี้

ตัวเลข 1 – 9

กรณีนี้ ตัวเลขนับเป็นเลขนัยสำคัญทุกตัว ตัวอย่างเช่นเช่น
365 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
123.456 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 6 ตัว

หลักนับเลขนัยสำคัญ กรณี 1

ตัวเลข 0 ที่อยู่หน้า ตัวเลขอื่น

กรณีนี้ ตัวเลข 0 จะไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น
0.002 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
00254.1 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 4 ตัว

หลักนับเลขนัยสำคัญ กรณี 2

ตัวเลข 0 ที่อยู่ระหว่าง ตัวเลขอื่น

กรณีนี้ ตัวเลข 0 จะนับเป็นเลขนัยสำคัญทุกตัว เช่น
302 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
1008.4 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 5 ตัว

หลักนับเลขนัยสำคัญ กรณี 3

ตัวเลข 0 ที่อยู่หลัง ตัวเลขอื่น และ ที่เป็นเลขทศนิยม

กรณีนี้ ตัวเลข 0 จะนับเป็นเลขนัยสำคัญทุกตัว เช่น

หลักนับเลขนัยสำคัญ กรณี 4

ตัวเลขที่หลัง ตัวเลขอื่น และ ที่เป็นเลขจำนวนเต็ม

กรณีนี้ ตัวเลข 0 อาจจะนับหรือไม่นับ ขึ้นกับความละเอียดของเครื่องมือ และควรเขียนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ เช่น 13500 อาจระบุเป็น
เลขนัยสำคัญ 3 ตัว คือ 1.35 x 104
เลขนัยสำคัญ 4 ตัว คือ 1.350 x 104
เลขนัยสำคัญ 5 ตัว คือ 1.3500 x 104

หลักนับเลขนัยสำคัญ กรณี 5

ค่าคงตัว หรือ เลขที่อยู่ในสูตร

กรณีนี้ค่าคงตัว หรือ เลขที่อยู่ในสูตร ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
เช่น การคำนวณความยาวเส้นรอบรูปวงกลม ตามสมการ L = 2πr
ค่า 2 และ π จะไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ

r = 0.25 m
L = 2πr = 2×3.14×0.25 = 1.57 m
แต่ค่าจากการคำนวณนี้เป็นเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ซึ่งสูงกว่าจำนวนเลขนัยสำคัญของค่า r จึงปัดจำนวนเลขนัยสำคัญลงให้เท่ากับ 2 เท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญของค่า r
L = 1.6 m

ฃหลักนับเลขนัยสำคัญกรณีที่ 6
มีนาคม 24, 2023