วิศวกรรม มีกี่สาขา ? จบมาทำงานอะไรได้บ้าง ?

วิศวกรรม มีกี่สาขา ? จบมาทำงานอะไรได้บ้าง ?

พี่รู้ว่ามีน้องหลายคนที่ใฝ่ฝันอยากเป็นวิศวะ แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าเรียนวิศวะจริงๆ มีกี่สาขา? แต่ละสาขาแตกต่างกันยังไง? แล้วจบมาทำอะไรได้บ้าง? มารู้จักวิศวกรรมสาขาต่างๆกันเถอะ วันนี้พี่ก็จะมาเล่าให้น้องๆฟังแบบครบถ้วนเลย ไปดูกัน!!! ⚙

วิศวกรรมเครื่องกล

สารบัญ :

วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineer)

ออกแบบกลไก เครื่องจักรกล กลไกต่างๆ

เครื่องกลเป็นศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานในการออกแบบ พัฒนา และผลิตอุปกรณ์ที่เป็นต้นกำลัง ถ่ายทอดกำลัง และใช้กำลัง การศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ ด้านพลังงาน ความร้อน และของไหล และลักษณะที่สองคือ ด้านการเคลื่อนไหว

โดยตัวอย่างการออกแบบเครื่องจักรกล เช่น ระบบไฮดรอลิกซ์ รากฐานหุ่นยนต์ พลศาสตร์การบิน การควบคุมการผลิตเครื่องจักรกล การออกแบบบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเครื่องกล ในการออกแบบเครื่องจักรกล ระบบความร้อน วิศวกรในโรงงานต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า หรือ โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น

.

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer)

ออกแบบอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์

การเรียนจะแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทางทฤษฎี กลุ่มทางซอฟต์แวร์ กลุ่มทางฮาร์ตแวร์ และกลุ่มทางระบบสารสนเทศ การเรียนจะผสมผสานไปด้วยการออกแบบและการวิเคราะห์ไปว่าจะเป็นทางซอฟต์แวร์ ฮาร์ตแวร์ และระบบสารสนเทศ

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ วิศวกรซอฟต์แวร์ ผู้ดูแลระบบให้กับองค์กรต่างๆ นักออกแบบมัลติมีเดีย ที่ปรึกษาบริษัทต่างๆด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

 

.

วิศวกรรมปิโตรเลียม

วิศวกรรมปิโตรเลียม (Petroleum Engineer)

สำรวจและขุด น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

ศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจ ค้นหา วิเคราะห์ปริมาณของแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการออกแบบหลุมปิโตรเลียม วิธีการขุดเจาะ และกระบวนการผลิตน้ำมัน งานของวิศวกรปิโตรเลียมจะแตกต่างจากปิโตรเคมีตรงที่ปิโตรเคมีจะเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ เช่น การทำเม็ดพลาสติก การผลิตก๊าซ LPG แต่วิศวกรปิโตรเลียมจะทำงานเกี่ยวกับการขุดเจาะ ผลิต และศึกษาแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา ก็เป็น วิศวกรปิโตรเลียมเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการสำรวจหาและออกแบบวิธีการที่จะผลิตน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปิโตรเลียมที่สำรวจพบ วิศวกรที่จะพิจารณาและพัฒนาหาวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

.

วิศวกรรมไฟฟ้า

วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineer)

ออกแบบ การผลิตและระบบจำหน่ายไฟฟ้า

สาขานี้จะศึกษาเรื่องการด้านไฟฟ้ากำลังแขนงต่างๆ เช่น การวิเคราะห์และออกแบบการผลิต ระบบจำหน่ายไฟฟ้า ไปยังพื้นที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังต้องศึกษาในด้าน วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง การเขียนโปรแกรม ระบบควบคุม อิเล็กทรอนิกซ์ ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า รวมทั้งศึกษาระบบไฟฟ้าการประมาณราคา

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรการไฟฟ้าฝ่ายผลิต วิศวกรซ่อมบำรุง วิศวกรรมออกแบบระบบ วิศวกรวิเคราะห์วิจัยและพัฒนาด้านพลังงานเป็นต้น

 

.

วิศวกรรมเคมี

วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineer)

ออกแบบเครื่องจักรและกระบวนการผลิตเคมี

หลักๆสาขานี้จะศึกษาด้านการออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรมเคมี รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้านเคมี โดยจะต้องศึกษาทั้งด้านวิศวกรรมเครื่องกล และวิทยาศาสตร์เคมี มาประยุกต์ด้วยกัน

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเคมี ตามโรงงานต่างๆเช่น โรงงานน้ำมัน ปิโตรเคมี พลังงาน สิ่งแวดล้อม ยาและอาหาร วิศวกรควบคุมและวางแผนการผลิต วิศวกรออกแบบอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

 

.

วิศวกรรมอุตสาหกรรม

วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineer)

เพิ่มประสิทธิการระบบทำงานด้วยการจัดการ

สาขาที่เรียนแนวคิดวิศวกรรมหลายแขนงผสมผสานเข้ากับแนวคิดทางธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ดังนั้นวิศวกรรมอุตสาหกรรมจึงสามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้ทุกประเภท ไม่เฉพาะแต่การเป็นวิศวกรโรงงานเท่านั้น หน้าที่หลักของวิศวกรอุตสาหการคือ การวางแผนการผลิต แหล่งวัตถุดิบ ตลาด แนวโน้มการตลาด แผนผังโรงงาน การควบคุมความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ เป็นต้น

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา สามารถทำงานในภาครัฐและเอกชน เป็นวิศวกรอุตสาหการเพื่อออกแบบอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต การบริหารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทำงานในหน่วยงานราชการ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ไฟฟ้า โทรคมนาคม เป็นต้น

 

.

วิศวกรรมโยธา

วิศวกรรมโยธา (Civil Engineer)

ออกแบบและวิเคราะห์ โครงสร้าง อาคาร ตึก

สาขาจะเรียนการวิเคราะห์โครงสร้างต่างๆ ควบคุมการก่อสร้าง งานตรวจสอบคุณภาพ การพัฒนาวัสดุก่อสร้าง การวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ การสำรวจพื้นที่ต่างๆ ร่วมไปถึงการบริหารจัดการก่อสร้าง โดยใช้ทรัพยากรและวัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรโยธาก่อสร้างตึก เขื่อน วิศวกรด้านโครงสร้าง วิศวกรด้านควบคุมและออกแบบระบบจราจร วิศวกรภาคอุตสาหกรรมเช่น ปูนซีเมนต์ ไม้ฝาบ้าน เป็นต้น

 

.

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineer)

ออกแบบอุปกรณ์และการบำบัด น้ำ อากาศ ของเสีย

สาขานี้ก็เป็นอีกสาขาที่เป็นที่นิยมของสาวๆ
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ ระบบบำบัดน้ำเสีย โดยใช้ความรู้จากวิศวกรรมโยธา เคมี และชีววิทยา มาประยุกต์ใช้ การศึกษาระบบน้ำทิ้งของโรงงาน น้ำบริโภค การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มลพิษทางอากาศ มลพิศทางดินและน้ำ ตลอดจน กากของสารอันตรายที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรการประปา วิศวกรสิ่งแวดล้อมให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแก่โรงงานอุตสาหกรรม กรมอนามัย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

 

.

วิศวกรรมโลจิสติกส์

วิศวกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Engineer)

ออกแบบและวางแผนระบบ การขนส่งผลิตภัณฑ์

ศึกษาหลักการออกแบบและวางแผนระบบการจัดการต่างๆ เช่นระบบคลังสินค้า ระบบการผลิต ระบบการกระจายสินค้า การวางเครือข่ายการคนส่งสินค้า การจัดซื้อจัดหา ผสมผสานกับความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการและวิศวกรรมโยธา

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรมีหน้าที่จัดการ ออกแบบระบบต่างๆ การจัดการผลิต การขนส่ง การตลาด ออกแบบผลิตภัณฑ์และจัดซื้อ

 

.

วิศวกรรมชีวการแพทย์

วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineer)

ออกแบบเครื่องจักรกล เน้นอุปกรณ์การแพทย์

ศึกษาเกี่ยวกับกลไกต่างๆของร่างกายทางสรีระวิทยาและชีววิทยาและการประยุกต์กับหลักการทางวิศวกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา หรือการช่วยในการในการบำบัดหรือตรวจวินิจฉัย

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเครื่องมือแพทย์ตามโรงพยาบาลต่างๆ ดูแล รักษา ซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์ วิศวกรเครื่องมือแพทย์ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

.

วิศวกรรมวัสดุ_โลหการ

วิศวกรรมวัสดุ/โลหการ (Materials Engineer)

ออกแบบวัสดุ โลหะ โพลิเมอร์ วัสดุเซรามิก แก้ว

สาขานี้ก็เป็นอีกสาขาที่น่าสนใจนะครับ
โดยจะศึกษาเกี่ยวกับวัสดุศาสตร์ การขึ้นรูปโลหะ โพลิเมอร์ วัสดุเซรามิก แก้ว เทคโนโลยีการผลิตชิ้นงาน โดยการ ปาดผิว การตัด การเคลือบผิว เพื่อเพิ่มคุณภาพแก่ผลิตภัณฑ์ โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมเครื่องมือ

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรประจำอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมงานหล่อ อุตสาหกรรมเครื่องประดับ อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ นักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ เป็นต้น

 

.

วิศวกรรมยานยนต์

วิศวกรรมยานยนต์ (Automobile Engineer)

ออกแบบเครื่องจักรกล เน้นรถยนต์

วิศวกรรมยานยนต์มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตบุคลากรออกไปทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนในประเทศ ดังนั้นนิสิตจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับรถยนต์โดยเฉพาะ ทั้งโครงสร้างภายนอกและภายใน นอกเหนือจากวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรยานยนต์ นั่นเอง งานดี มีบริษัทมาจองตัว ถ้ามีฝีมือ เงินเดือนโหดมากๆ มีโอกาสได้ไปทำงาน ต่างประเทศ ด้วยนะ

 

.

วิศวกรรมการบิน

วิศวกรรมการบิน (Aerospace Engineer)

ออกแบบเครื่องจักรกล เน้นเครื่องบิน

ศึกษา โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ออกแบบวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ เกี่ยวข้องกับอากาศยานและดาวเทียม โดยศึกษาด้าน อากาศพลศาสตร์ การควบคุม การขับดัน และศึกษาด้านวิชาการขับดันทางการบิน ระบบสัญญาณ

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรซ่อมบำรุงเครื่องบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมการบิน วิศวกรให้คำปรึกษาด้านอวกาศให้กับรัฐ

 

.

วิศวกรรมเรือ

วิศวกรรมเรือ (Naval Engineer)

ออกแบบเครื่องจักรกล เน้นเรือ

สาขานี่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรือโดยเฉพาะ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ Navai Engineering ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบตัวเรือและกระบวนการต่อเรือ Marine Engineering ศึกษาเกี่ยวกับระบบภายในของเรือ การวางผังแหล่งกำเนิด การระบายอากาศ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงความปลอดภัยของเรือด้วย

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรต่อเรือ นั้นเอง จบไปทำได้หลายอย่าง เช่น อยู่อู่เรือ อยู่แท่นขุดเจาะ ซ่อมเรือ ดูโครงสร้างเรือ ออกแบบเรือ เป็นต้น

 

.

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Engineer)

ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ ด้านอิเล็กทรอนิกส์

ศึกษาเรื่องระบบอิเล็กทรอนิกซ์ เทคโนโลยีต้นแบบที่ใช้ในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆแทบทุกชนิด และคิดค้นนวัตรกรรมใหม่ๆ รวมทั้งศึกษาระบบสื่อสาร ระบบภาพ ระบบเพื่อความบันเทิง ด้านการแพทย์ การทหาร ที่ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกซ์ในการทำงาน

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา เป็นวิศวกรวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ด้านอิเล็กทรอนิกซ์ให้กับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน รวมทั้งพัฒนาอุปกรณ์ด้านอิเล็กทรอนิกซ์ในภาคอุตสาหกรรม

 

.

วิศวกรรมโทรคมนาคม

วิศวกรรมโทรคมนาคม (Telecommunications Engineer)

ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ด้านการสื่อสาร

ศึกษาระบบสื่อสารและโทรคมนาคมต่างๆ เช่น ระบบไมโครเวฟ ระบบดาวเทียม การเรียนรู้และการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารสมัยใหม่ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการสื่อสาร

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรด้านโทรคมนาคมให้กับบริษัทด้านโทรคมนาคมต่างๆ วิศวกรการไฟฟ้า วิศวกรให้คำปรึกษาด้าน
โทรคมนาคม วิศวกรระบบ

 

.

วิศวกรรมซอฟต์แวร์

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineer)

ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ด้านซอฟต์แวร์

ศึกษา การพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยใช้ความรู้ด้าน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ ใช้การประมวลผลแบบขนานและกระจาย

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษาเป็นวิศวกรพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ให้ภาครัฐและเอกชน ผู้ดูแลระบบขององค์กร วิศวกรรักษาความปลอดภัยข้อมูลขององค์กร

 

.

วิศวกรรมระบบควบคุม

วิศวกรรมระบบควบคุม (Control Engineer)

ออกแบบซอฟต์แวร์การควบคุมอัตโนมัติที่แม่นยำ

ศึกษาด้านการนำความรู้และการคำนวณทางคอมพิวเตอร์มาควบคุมระบบอัตโนมัติเช่น การควบคุมหุ่นยนต์แบบอัตโนมัติ การให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลด้วยภาพและเสียง การควบคุมระบบอัจฉริยะสมองกล การใช้ทักษะและความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ควบคุมกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรควบคุมการผลิตในโรงงงานอุตสาหกรรมอาทิ วิศวกรควบคุมระบบหัวจ่ายน้ำมัน วิศวกรควบคุมการเดินรถไฟฟ้า ระบบจราจร วิศวกรพัฒนาอุปกรณ์ด้านไฟฟ้าให้เป็นระบบอัตโนมัติ

 

.

วิศวกรรมเครื่องมือวัด

วิศวกรรมเครื่องมือวัด (Instrumentation Engineer)

ออกแบบเครื่องวัด มวล ปริมาตร อุณหภูมิ ความดัน

ศึกษาในการนำข้อมูลซึ่งได้จากอุตสาหกรรมเช่น อุณหภูมิ ความดัน ระยะทาง ความดัง แรงสั่นสะเทือน เพื่อนำมาประมวลผลเพื่อใช้ในการประยุกต์กับวิศวกรรมระบบควบคุม เพื่อให้ได้ระบบอัตโนมัติที่มีความมั่นคง แน่นอนในการผลิตด้านอุตสาหกรรม

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรตรวจสอบเครื่องมือและการวัดคุม อุปกรณ์ต่างๆของภาคอุตสาหกรรมและรัฐเพื่อให้มาตรฐานของเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมได้มาตรฐานและมีความแม่นยำ

วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์

วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineer)

ออกแบบหุ่นยนต์การควบคุมอัตโนมัติที่แม่นยำ

ศึกษาด้านวิศวกรรมโดยการประยุกต์สาขา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมการผลิตการผลิต วิศวกรรมระบบควบคุม มาออกแบบเครื่องจักรกลสมัยใหม่ เช่น หุ่นยนต์ แขนกล ระบบอัตโนมัติทุกชนิดโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งควบคุม เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรควบคุมการผลิตของโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ระบบกระบวนการผลิตสมัยแบบที่ หรือ ระบบการผลิตที่มนุษย์ไม่สามารถผลิตได้

 

.

วิศวกรรมเครื่องมือ

วิศวกรรมเครื่องมือ (Tool Engineer)

ออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์วัดทางวิศวกรรม

ศึกษาโดยเน้นการออกแบบเครื่องมือ และการเลือกวัสดุมาใช้เป็นเครื่องมือโดยผลิตจากวัสดุประเภทโลหะ อโลหะ โดยจะศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมวัสดุ เพื่อผลิตเครื่องมือสมัยใหม่ รวมทั้งการใช้เครื่องมือในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพสูงสุด

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือกล แม่พิมพ์พลาสติกและขึ้นรูปโลหะในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกซ์โดยออกแบบและควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์

 

.

วิศวกรรมอาหาร

วิศวกรรมอาหาร (Food Engineer)

ออกแบบเครื่องจักรและกระบวนการผลิตอาหาร

ศึกษา ด้านการออกแบบเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิตอาหารจำนวนมาก โดยใช้หลักด้านวิศวกรรมเครื่องกลมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับประเภทอาหาร โดยศึกษาเรื่องเครื่องฆ่าเชื้อ กลศาสตร์ของไหล เครื่องมือแปรรูปอาหาร หน่วยปฏิบัติการด้านวิศวกรรมอาหาร โดยใช้ศาสตร์วิชาด้านจุลชีววิทยา เคมี วิทยาการอาหาร

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม วิศวกรควบคุมการผลิตอาหารและควบคุมความปลอดภัยด้านอาหาร

 

.

วิศวกรสำรวจ

วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineer)

การรังวัดทั่วไปด้วยดาวเทียมและสร้างแผนที่

สาขานี้จะเป็นสาขาย่อยของสาขาโยธา
โดยจะศึกษาเกี่ยวกับการรังวัดทั่วไปจนถึงการรังวัดด้วยดาวเทียมและเรื่องการทำแผนที่แล้วยังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของ Geoinformatic Engineering ซึ่งเป็นการศึกษาที่นำไปใช้กับระบบ GPS หรือระบบติดตามด้วยดาวเทียม ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดงานในขณะนี้และในอนาคต

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรสำรวจ นั้นเอง

 

.

วิศวกรทรัพยากรธรณี

วิศวกรรมทรัพยกรธรณี (Georesources Engineer)

ศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการสำรวจหาแหล่งแร่ การประเมินคุณภาพแร่ การวางแผนการทำเหมืองในรูปแบบต่างๆ การควบคุมการทำเหมืองแร่ และการใช้อุปกรณ์ชนิดต่างๆ ในการแยกแร่ สาขาวิศวกรรมทรัพยากร จะเรียนเกี่ยวกับการนำทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้แล้วนำกลับมาสู่กระบวนการแยกแร่ แล้วนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตต่อไป

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเหมืองแร่ ในการขุดหาถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน รวมถึงอัญมนีใต้พื้นดิน และใต้ทะเล วิศวกรผลิตและแปรรูปแร่ธาติต่างๆ

 

.

วิศวกรรมปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์

วิศวกรรมปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ (Polymer Engineer)

ออกแบบการผลิต พลาสติก ยาง สิ่งทอ กาว

ศึกษา ความรู้ด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การแปรรูปน้ำมัน ปิโตรเลี่ยม แก๊สธรรมชาติ สินแร่ วัสดุศาสตร์ การจัดการและออกแบบอุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมีจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม ออกแบบและพัฒนาวัสดุโพลิเมอร์

👉 อาขีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรควบคุมการผลิตด้านปิโตรเคมี พลาสติก ยาง สิ่งทอ สร้างเคลือบ กาวอุตสาหกรรมแปรรูปแป้ง วิศวกรควบคุมคุณภาพ

 

.

วิศวกรรมนิวเคลียร์

วิศวกรรมนิวเคลียร์ (Nuclear Engineer)

ออกแบบเทคโนโลยีนิวเคลียร์และการฉายรังสี

ศึกษาเรื่องการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี ในงานอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์นิวเคลียร์และรังสี เช่น เครื่องเร่งอนุภาคที่ใช้ผลิตเอกซเรย์ซึ่งมีใช้ทางการแพทย์และอุตสาหกรรมเครื่องผลิตนิวตรอน (คนละอย่างกับเครื่องปฏิกรณ์) ต้นกำเนิดรังสีการถ่ายภาพ การตรวจสอบและปรับปรุงวัสดุโดยเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี

👉 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา เป็นนักวิจัย
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

 

.

วิศวกรรมขนส่งทางราง

วิศวกรรมขนส่งทางราง (Rail Transportation Engineer)

จะได้ศึกษาตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง องค์ประกอบและการออกแบบระบบรางรถไฟ การตัดทางรถไฟ การซ่อมบำรุงรถไฟ หน้าที่และการทำงานของระบบต่างๆของรถไฟการวิเคราะห์แรงต้านและการใช้พลังงานของรถไฟ การสร้างและซ่อมบำรุงรางรถไฟการควบคุมการจราจรของรถไฟและระบบการส่งสัญญาณ

👉อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
วิศวกรระบบขนส่งทางราง
วิศวกรรถไฟฟ้า

 

.

ใครที่มีความฝันอยากเข้าวิศวะ แล้วกำลังมองหาตัวช่วยในวิชาฟิสิกส์

ทดลองดูสไตล์การสอนของพี่ได้ที่นี่เลย ในช่องยังมีคลิปติวฟรีอีกเพียบเลยคร้าบ

คลิปติวฟรี 20 บท

คอร์สเรียนแนะนำ

– Gear Pack A Physics A-Level 7 เล่ม + พิชิต TPAT3 2 เล่ม
– พิชิต TPAT3 Pack เล่ม 1+2

กันยายน 15, 2023