ควอนตัมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

ควอนตัมคอมพิวเตอร์กับความสำคัญ

ในปัจจุบันเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจมาก เพราะเป็นควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรมที่ก้าวล้ำซึ่งมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการประมวลผลข้อมูลในอนาคต โดยใช้หลักการของกฏแห่งควอนตัมฟิสิกส์ ซึ่งเป็นกฏที่ใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของอนุภาคเล็กๆ จึงสามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ มากกว่าคอมพิวเตอร์ธรรมดาหลายเท่า ทำให้มีประโยชน์ในงานที่ต้องการการคำนวณที่ซับซ้อน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การค้นหาเชิงเภสัชกรรม หรือการเข้ารหัสลับ

ควอนตัมคอมพิวเตอร์ต่างจากคอมพิวเตอร์ปกติยังไง

การเปลี่ยนจากการใช้ Binary Digits หรือ Bits ในคอมพิวเตอร์ปกติไปสู่การใช้ Qubits

Binary Digits หรือ Bits คือ

หน่วย Bits มีสถานะสองอย่างคือ 0 หรือ 1
ทุกการคำนวณในคอมพิวเตอร์ปกติทำงานบนหลักของการประมวลผลเหล่านี้
ตัวอย่าง: หากมี 3 Bits เราสามารถแทนสถานะได้เพียง 8 รูปแบบ (000, 001, 010, 011, 100, 101, 110, 111)

Qubits ในควอนตัมคอมพิวเตอร์

Qubits สามารถอยู่ในสถานะ 0, 1 หรือทั้งสองสถานะพร้อมกัน ผ่านหลักการของ Superposition
ความสามารถนี้ทำให้ Qubits สามารถแทนที่สถานะได้หลายอย่างมากขึ้นในเวลาเดียวกัน
ตัวอย่าง: ด้วย 3 Qubits เราสามารถแทนที่สถานะได้มากกว่า 8 รูปแบบ เนื่องจากแต่ละ Qubit สามารถเป็นทั้ง 0 และ 1 ในเวลาเดียวกัน
จำนวนสถานะที่เป็นไปได้สำหรับ 3 Qubits คือ \(2^3\) หรือ 8 สถานะ เช่นเดียวกับ 3 Bits แต่ความแตกต่างอยู่ที่ว่า Qubits สามารถเป็นเหมือนเป็นสถานะทั้งหมดพร้อมกันได้เนื่องจากคุณสมบัติของ superposition และ entanglement
กรณีมี N Qubit = มีสถานะย่อยทั้งหมด \(2^N\) สถานะ

superposition :คือ ความสามารถที่มีคุณสมบัติของทั้ง 0 และ 1 พร้อมกันในแต่ละ Qubit
entanglement :คือในแต่ละ Qubits สามารถเชื่อมโยงกันในสถานะ ถ้ามีการเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงใน Qubit หนึ่งส่งผลต่อ Qubit อื่นๆ ได้ทันที เช่น Qubit A เป็น 0 Qubit B จะเป็น 1 ทันที

Quantum Algorithms: มีอัลกอริธึมเฉพาะที่พัฒนาขึ้นสำหรับควอนตัมคอมพิวเตอร์ เช่น อัลกอริธึมของ Shor(ใช้ในการแยกตัวประกอบ) และ Grover(ใช้ในการค้นหาในฐานข้อมูลที่ไม่เรียงลำดับ) ซึ่งออกแบบมาเพื่อทำงานได้เร็วกว่าอย่างมากเมื่อเทียบกับอัลกอริธึมในคอมพิวเตอร์ปกติ

การประมวลผลแบบ Parallel (คู่ขนาน): ด้วยความสามารถในการรักษาหลายสถานะในเวลาเดียวกัน, ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลแบบคู่ขนานได้ในระดับที่ไม่สามารถทำได้ด้วยคอมพิวเตอร์แบบปกติ

Quantum Key Distribution (QKD) :เป็นเทคนิคที่ใช้คุณสมบัติของควอนตัมสำหรับการส่งกุญแจการเข้ารหัสที่ปลอดภัยอย่างสูง จะทำให้การสื่อสารมีความปลอดภัยอย่างมากถือ ปฏิวัติการสื่อสาร

ประโยชน์ของการนำควอนตัมมาปรับใช้ในการคำนวณ

การจัดลำดับดีเอ็นเอ (DNA sequencing)

การค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูล (database search)

การหาค่าที่เหมาะสม (optimization)

การเข้ารหัสและการถอดรหัส (encryption and decryption)

การจัดกลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ (big data segmentation)

การจำลองโครงสร้างโมเลกุล (simulation for molecular structure)

การแยกตัวประกอบทางคณิตศาสตร์ (factorization)

ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (unsupervised learning)

คอร์สเรียนแนะนำ

-ENTRANCE (TCAS) Physics Pack รวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลาย
– พิชิต TPAT3 Pack เล่ม 1+2
– ทดลองพิชิต TPAT3 Pack เล่ม 1+2

ธันวาคม 8, 2023