7 จุดต้องรู้! ก่อนสอบฟิสิกส์ ONET

 

สวัสดีคร้าบน้องๆ พบกับพี่ตั้วอีกครั้งนะครับ

วันนี้พี่มีอะไรเจ๋งๆมาให้น้องๆเช่นเดิม แล้ววันนี้พี่มีอะไรมาล่ะ….นั้นก็คือ

“7 จุดต้องรู้! ก่อนสอบฟิสิกส์ ONET”

แล้วน้องๆอยากรู้มั้ยครับ ว่า 7 จุดนี้มีอะไรบ้าง? ถ้าอยากรู้ ไปดูกันเลยครับ

————————————————-

 

1. แรงโน้มถ่วง
————————–——————-
> แรงโน้มถ่วงขึ้นกับมวลและระยะห่าง
> มวลเยอะ แรงดึงดูดยิ่งมาก
> ยิ่งไกลจากโลก แรงดึงดูดยิ่งน้อย
> สูตร g = GM/R^2, F = GMm/R^2
> น่ำหนัก W = mg วัดที่ดาวต่างๆไม่เท่ากัน
> มวล มีค่าคงที่ จะวัดที่ไหนก็มีค่าเท่ากัน

 

2. แรงสนามไฟฟ้า
————————–——————-
> สนามไฟฟ้า E มีทิศจากขั้วบวกไปขั้วลบ
> หากเอาประจุบวกไปวางในสนามไฟฟ้า
จะมีแรงกระทำและเคลื่อนที่”ทิศเดียว” กับสนามไฟฟ้า
> หากเอาประจุลบไปวางในสนามไฟฟ้า
จะมีแรงกระทำและเคลื่อนที่”ทิศตรงข้าม”กับสนามไฟฟ้า
> แรงในสนาม F=qE
> สนามไฟฟ้า E= V/d
> ยิ่งประจุมากแรงสนามไฟฟ้ายิ่งกระทำมาก

 

3. แรงสนามแม่เหล็ก
————————–——————-
> หากประจุวิ่งเข้าสนามแม่เหล็ก จะมีแรงกระทำทำให้ประจุเคลื่อนที่เป็นรูปวงกลม
> แรงประจุวิ่งในสนามแม่เหล็ก F= qvBsin@
> สนามแม่เหล็กพุ่งเข้า X
> สนามแม่เหล็กพุ่งออก o
> หาทิศของแรงที่กระทำได้จากหลักการ
” 4 นิ้วตาม v ให้ B เข้าหลังมือ F คือนิ้วโป้ง”
ถ้าประจุบวกใช้มือขวา ถ้าประจุลบใช้มือซ้าย
> ขั้วโลกเหนือมีแม่เหล็กใต้
> ขั้วโลกใต้มีแม่เเหล็กเหนือ
> สนามแม่เหล็กเคลื่อนที่จากขั้วแม่เหล็กเหนือ ไปหาขั้วแม่เหล็กใต้

 

4. แรงนิวเคลียร์
————————–——————-
> แรงที่กระทำในนิวเคลียสของอะตอม
> อนุภาคในนิวเคลียสเรียกว่านิวคลีออน
> นิวเคลียส์ของอะตอมประกอบด้วย โปรตอน และนิวตรอน
> แรงที่กระทำในนิวเคลียสมีทั้งแรงโน้มถ่วง แรงไฟฟ้า และแรงนิวเคลียร์
> แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม เป็นแรงที่ยึดเหนี่ยวนิวคลีออนให้ยึดติดกัน
> แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน ป็นแรงที่ทำให้เกิดการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี
> สมการนิวเคลียร์ เลขบนรวมก่อน = รวมหลัง/ เลขล่างนรวมก่อน = รวมหลัง
> รังสีอัลฟา He (มวล4 ประจุ +2)
อำนาจทะลุทะลวงต่ำ
> รังสีเบต้า B หรือ อิเล็กตรอน (มวล 0 ประจุ -1) อำนาจทะลุทะลวงปานกลาง
> รังสีโพซิตรอน B หรือ เบต้าบวก (มวล 0 ประจุ +1) อำนาจทะลุทะลวงปานกลาง
> รังสีแกรมมา ไม่มีมวล ไม่มีประจุ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อำนาจทะลุทะลวงสูง
> พลังงานนิวเคลียร์ E = mc^2 หรือ E = u x 930 MeV
> หากมวลหาย = ปฏิกิริยาคายพลังงาน
> หากมวลเพิ่ม = ปฏิกิริยาดูดพลังงาน

 

5. การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
————————–——————-
> การกระจัดลากจากจุดเริ่มต้นไปจุดสุดท้าย
> ระยะทางคือระยะรวมเคลื่อนที่ทั้งหมด
> การกระจัด —> ความเร็ว —> ความเร่ง
> ระยะทาง —> อัตราเร็ว –> อัตราเร่ง
> อัตราเร็วเฉลี่ย = ระยะทางทั้งหมด / เวลาทั้งหมด
.
> การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ —> แนวราบความเร็วคงที่/ แนวดิ่งมีความเร่ง = g/ จุดสูงสุดมีความเร็วเฉพาะแนวราบ (Vx) ไม่มีความเร็วแนวดิ่ง (Vy=0), เวลาขาขึ้น = เวลาขาลง, อัตราเร็วขาขึ้น = อัตราเร็วขาลง แต่ทิศทางคนละด้าน
.
> การเคลื่อนที่แบบวงกลม —> มีความเร่งและแรงเข้าสู่ศูนย์กลาง, ขนาดอัตราเร็วคงที่ แต่ความความเร็วไม่คงที่เพราะทิศทางเปลี่ยน
ความเร็วทิศตั้งฉากรัศมี
.
> การเคลื่อนที่แบบซิมเปิ้ลฮาร์โมนิก —> เคลื่อนที่ซ้ำไปซ้ำมา, คาบเวลาคือเวลาที่เคลื่อนที่ครบ 1 รอบ, ความถี่คือจำนวนรอบที่ได้ใน 1 วินาที่, T=1/f, f = 1/T,
> คาบเวลาของลูกตุ้นาฬิกาขึ้นกับระยะเชือกและค่า g ไม่ขึ้นกับมวล
> คาบเวลาของวัตถุติดสปริงขึ้นกับค่านิจสปริงและมวล

 

6. สมบัติของคลื่น
————————–——————-
> สูตรหากิน V = f x lamda
> สมบัติคลื่นมี 4 อย่าง
1.สะท้อน = เปลี่ยนตัวกลาง ผ่านไม่ได้
2. หักเห = เปลี่ยนตัวกลาง ผ่านได้ แต่ทิศทาง ความยาวคลื่น ความเร็วเปลี่ยนหมด ยกเว้นความถี่, v มากมุมใหญ่, v น้อยมุมเล็ก
3. แทรกสอด = คลื่น 2 ชนิดมารวมกัน
> ถ้าคลื่นความถี่เท่ากัน เกิดแนวเสริม แนวหักล้าง
> ถ้าคลื่นความถี่ไม่เท่ากัน เกิดคลื่นบีสต์
fb = | f1 – f2 | คือเสียงดังแปลกใน 1 วินาที
4. เลี้ยวเบน = คลื่นผ่านสิ่งกีดขวาง เช่นช่องแคบ แล้วคลื่นจะเปลี่ยนทิศจากวิ่งตรงๆ เป็นวิ่งโค้งรูปครึ่งวงกลม

 

7. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
————————–——————-
> ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ฝ
> อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 3x108m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง
> เป็นคลื่นตามขวาง
> สามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้
> สนามแม่เหล็ก กับ สนามไฟฟ้า จะเหนี่ยวนำซึ่งกันและกัน โดยมีทิศตั้งฉาก
> เรียงความยาวคลื่นจากน้อยไปมาก
(หรือ ความถี่จากมากไปน้อย)
แกรมมา < X-rays < UV < แสงมองเห็น < อินฟาเรด < ไมโครเวฟ < คลื่นวิทยุ

add line พี่ตั้ว ไว้อัพเดตเคล็ดลับฟิสิกส์ และขอคำแนะนำการแก้โจทย์

ได้ตามลิงค์ด้านล่างเลยคร้าบ 🙂 http://line.me/ti/p/%40dst4431j

กรกฎาคม 21, 2021